การวิจัยและพัฒนา

นโยบายการวิจัยและพัฒนา

พื้นฐานของการวิจัยและพัฒนาของกลุ่มบริษัท ชิน-เอ็ทสึ โพลีเมอร์ คือการสื่อสารอย่างกับลูกค้าอย่างใกล้ชิดเพื่อระบุความต้องการและจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าให้แก่ลูกค้า  พันธกิจของเราในงานด้านการวิจัยและพัฒนาคือ การทำตามความต้องการของลูกค้าในทุกๆ ด้านอย่างครบวงจรโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผสมวัตถุดิบ การใช้วัตถุดิบ วัสดุประกอบ การประเมิน และการสร้างแม่แบบที่มีความเที่ยงตรงโดยใช้วัสดุซิลิโคน พลาสติก และวัสดุตัวนำไฟฟ้า เป็นวัสดุหลัก

โครงสร้างการวิจัยและพัฒนา

เราได้บูรณาการความสามารถในการวิจัยและพัฒนาของเรา (ซึ่งก่อนหน้านี้เราได้แยกกันระหว่างศูนย์การวิจัยและพัฒนา สำนักงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกลุ่มพัฒนางานวิศวกรรม) โดยการสร้างสำนักงานใหญ่ส่วนพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่  ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานโดยการพิสูจน์ให้เห็นถึงความสามารถในการพัฒนาของเราและเร่งระยะเวลาการสร้างมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นลูกค้าของเราเห็นเป็นรูปร่างได้เร็วขึ้น  สำนักงานใหญ่ส่วนพัฒนาเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ได้ถูกจัดตั้งขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และระบบที่เรากำลังดำเนินการอยู่ และมีการจัดวางตำแหน่งในผังองค์กรที่จะทำหน้าทีประสานงานแนวคิดริเริ่มการพัฒนาทางเทคนิคตลอดทั้งกลุ่มบริษัทเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และธุรกิจใหม่  ภายใต้โครงสร้างการวิจัยและพัฒนาใหม่  ทีมพัฒนาของแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละบริษัท  ขณะที่สำนักงานใหญ่ส่วนพัฒนาเทคโนโลยีจะเป็นผู้นำกิจกรรมการพัฒนาระยะกลางถึงระยะยาว รวมถึงการพัฒนาธุรกิจใหม่ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของตัวเองและประสานความร่วมมือกับทีมพัฒนาของแต่ละฝ่ายด้วย

บทบาทของสำนักงานใหญ่ส่วนพัฒนาเทคโนโลยี

kenkyu_il_01_thai

สำนักงานใหญ่ส่วนพัฒนาเทคโนโลยีมีความรับผิดชอบหลักสำหรับการกำหนดและดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ  ซึ่งปัจจุบันนี้ประกอบด้วย 6 หน่วยงานที่ทำงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ และธุรกิจใหม่

แผนกวิศวกรรมการกำหนดกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญา

  • สำนักงานเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์
  • แผนกทรัพย์สินทางปัญญา

 
องค์กรเหล่านี้มีความรับผิดชอบสำหรับการกำหนดกลยุทธ์เทคโนโลยีระยะปานกลางถึงระยะยาวพร้อมกับมุมมองที่ยึดงานด้านเทคนิคและการบริหารจัดการ  และต่อยอดทรัพย์สินเชิงนามธรรมของกลุ่มบริษัทโดยการเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและใช้ประโยชน์กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญา

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และธุรกิจใหม่

  • แผนกการพัฒนาธุรกิจ

แผนกนี้มีบทบาทเป็นผู้นำในการดำเนินการกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีและการพัฒนาโดยมีจุดประสงค์การสร้างธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น โพลีเมอร์ตัวนำไฟฟ้า และชีลด์ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  แผนกนี้จะทำการวิจัยการตลาดและทบทวนความต้องการของลูกค้า จัดเตรียมสภาพแวดล้อมการทำงานสำหรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยี

การพัฒนาและการสนับสนุนวิศวกรรมการผลิตและการจัดการโครงการ

  • แผนกวิศวกรรมการผลิต
  • แผนกการจัดการโครงการ
  • แผนกวิศวกรรม

แผนกเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการต่อยอดการใช้งานเทคโนโลยีหลักของบริษัท เช่น เทคโนโลยีกระบวนการผลิตซิลิโคนและการพัฒนาเทคโนโลยีส่วนประกอบ เช่นเดียวกับการส่งเสริมและการจัดการโครงการความร่วมมือและการพัฒนารูปแบบกับฝ่ายธุรกิจต่างๆ

แผนกเหล่านี้ยังให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านวิศวกรรมและการผลิตที่มีฐานตั้งอยู่ทั่วโลกและเฝ้าติดตามการพัฒนาโรงงานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

แนวคิดริเริ่มทรัพย์สินทางปัญญา

เราได้กำหนดนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับแต่ละสาขาธุรกิจผ่านการประสานความร่วมมือกับหน่วยธุรกิจและกลุ่มการวิจัยและพัฒนา  โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงวิธีการที่เราใช้ทรัพย์สินทางปัญญา “เชิงรุก” และ “เชิงรับ” เพื่อพัฒนาและสนับสนุนตลาดใหม่และลูกค้ารายใหม่  แผนกทรัพย์สินทางปัญญา ฝ่ายขาย และฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีมีการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงรุก เช่น การเพิ่มเติมให้ครบถ้วนและการใช้กรรมสิทธิ์ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม  เรามีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของเราเพื่อสร้างจุดได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาด  เราวางแผนที่จะใช้เครื่องมือเชิงรับโดยอิงจากการจัดการความเสี่ยง เช่น การเพิ่มกิจกรรมการวิจัยทั่วโลกของเราและการใช้ข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญา  เรายังวางแผนที่จะยกระดับการฝึกอบรมและกิจกรรมการสร้างความตื่นตัว รวมถึงการเป็นผู้เริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในแต่ละปี และเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงการฝึกอบรมทรัพย์สินทางปัญญาเข้ากับระบบการรับรองคุณภาพภายในของเรา เพื่อยกระดับเพิ่มเติมในส่วนของทรัพย์สินทางปัญญาของเรา  จำนวนสิทธิบัตรที่จดทะเบียนและทรัพย์สินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรของกลุ่มบริษัท ชิน-เอ็ทสึ โพลีเมอร์ ณ วันที่ 31 มี.ค 2558 และ 2557 มีดังนี้

As of March 31, 2015 As of March 31, 2014
Japan Patents 969 955
Utility models 5 5
Industrial designs 89 100
Trademarks 133 131
Foreign patents 523 515